วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2555

อธิบาย Type of data to store ในการสร้างชนิดเนื้อหา Drupal

ช่อง Type of data to store: เป็นรูปแบบของการแสดง field รวมถึงโมดูลที่ติดตั้งเพิ่มเติมด้วย มีแบบให้เลือก ดังแสดงในตาราง
Type of data to store
คำอธิบาย
Text
ถ้าจะเขียนข้อมูลหรือข้อความสั้นๆ ควรใช้ Field ที่เป็น Text และองค์ประกอบของ Text จะมีแค่ Text field อย่างเดียวเท่านั้น
File 
ถ้าต้องการข้อมูลที่เป็นไฟล์ข้อมูลให้เลือก Field เป็นแบบ File สามารถเลือกได้ 2 รูปแบบดังต่อไปนี้
        (1)       File แบบแนบไฟล์ข้อมูลต่างๆได้
       (2)        Media file selector จะเป็นการแนบไฟล์ที่เป็นวีดีโอได้   
Long text and summary
ถ้าจะพิมพ์ข้อความและเพิ่มลูกเล่นหรือรูปภาพประกอบ ควรเลือก Field Long text and summary และองค์ประกอบจะมีให้เลือกเพียงลักษณะเดียว
Long Text
ถ้าต้องการพิมพ์ข้อความอย่างเดียว ให้เลือก Long text จะเป็นช่องให้กรอกข้อมูลใหญ่ๆ ให้หนึ่งช่อง เหมาะกับการกรอกข้อมูลที่อยู่ หรือข้อความยาวๆ
List Text
ถ้าจะทำเป็น Choice ในการเลือกข้อมูล ควรใช้ Field List (text) จะสามารถเลือกได้ 2 ลักษณะ ดังนี้
 (1)Select list คือ เป็นช่องสไลด์เลือกข้อมูลที่ต้องการกรอก
 (2)Check boxes/ radio buttons  คือ เป็นช่อง Choice ให้เลือก (ถ้าเป็น Check boxes จะเลือกข้อมูลได้มากกว่า 1 และ  radio buttons จะสามารถเลือกข้อมูลได้เพียงหนึ่งเท่านั้น)

Media Player
สำหรับ Field ที่ต้องการใส่ไฟล์วิดีโอ
Term reference
การใส่หมวดหมู่สำหรับประเภทบทความ

ซึ่งอาจจะมีเพิ่มขึ้นแล้วแต่ Module ที่เราเพิ่มลงไปเช่น video, Multimedia asset 

Blocks


รายการ Blocks
                รายการ Blocks คือกล่องการแสดงผลในหน้าเว็บไซต์สามารถแก้ไขและปรับแต่งการวางได้ตามต้องการ เนื่องจากแต่ละธีมจะมีการกำหนดพื้นที่แสดงผลที่ต่างกัน ดังนั้น การแสดงผลบล็อค จะเป็นไปตามธีมนั้นๆ  



ส่วนประกอบในหน้าแรกของรายการ Blocks ดังนี้
1. แถบหน้าแรกของรายการบล็อกคือ Theme ละธีมจะมีการกำหนดพื้นที่แสดงผลที่ต่างกัน
2. เมื่อคลิกคำว่า “Demonstrate block regions>> จะปรากฏหน้าการแสดงผลในพื้นที่ต่างๆในหน้าเว็บไซต์ ดังแสดงในรูปมีการวางลำดับจากบนลงล่าง สามารถดูตำแหน่งก่อนการจัดวางบล็อคได้

3. Add block  คือการสร้างบล็อคขึ้นใหม่
4. ตำแหน่งจะมีให้เลือกตามแบบธีมของเว็บไซต์


การสร้างบล็อคใหม่  

          เมื่อคลิกที่รายการบล็อค >> จะปรากฏหน้าแรกของรายการบล็อก >> คลิกที่คำว่า  + Add block ” >> จะปรากฏหน้าการสร้างบล็อก กรอกรายละเอียดลงในช่อง โดยเฉพาะช่องที่มีเครื่องหมาย (*)



วิธีการกรอกรายละเอียด มีดังนี้
1. Block title : คือชื่อบล็อคทำการกรอกชื่อบล็อคตามที่ต้องการ
2. Block description กรอกคำอธิบายให้ขยายความชัดเจนว่าเกี่ยวกับอะไร
3. Block body: กรอกข้อความ ไฟล์หรือรูปภาพได้ตามต้องการ
4. REGION SETTING : ตั้งค่าพื้นที่แสดงผล กำหนดพื้นที่ที่จะแสดงผลในหน้าเว็บไซต์ หากยังไม่ทราบตำแหน่งให้เลือก “-None-” ไว้ก่อน
5. คลิกปุ่ม “Save block”

                      นอกจากสามารถเลือกตำแหน่งจากช่องตำแหน่งในตารางแล้ว ยังสามารถลากวางบล็อกเพื่อเปลี่ยนลำดับขึ้นลงตามต้องการ (การแสดงผลของแต่ละบล็อกจะเรียงจากบนลงล่างตามลำดับ) โปรดจำไว้ว่า การเปลี่ยนแปลงใดๆ จะไม่มีผลจนกว่าจะคลิกที่ปุ่ม “Save block”






วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2555

ประโยชน์ของ Taxonomy (หมวดหมู่) ใน Drupal

ประโยชน์ของ Taxonomy (หมวดหมู่) ใน Drupal  

Taxonomy เป็นเครื่องมือที่มีให้แล้วเราไม่ต้องไปหามาติดตั้งเอง โดยตัวนี้มีประโยชน์ตรงนำมากรองเนื้อหาใน Views ได้ เช่น รถกระบะมีหลายยี่ห้อ  แต่อยากจะโชว์แค่ ISuzu อย่างเดียว หมวดหมู่จะช่วยกรองเนื้อหาให้ง่ายขึ้น ไม่จำเป็นต้องสร้าง Content type ใหม่เพื่อใช้ดึงข้อมูลมาแสดง ช่วยให้ง่ายต่อการจัดกลุ่มเนื้อหาให้เป็นประเภทเดียวกัน

*การเรียกใช้งานต้องสร้าง Field ใน Content type และเมื่อเราสร้างบทความจะมีหมวดหมู่ขึ้นมาให้เลือก


อธิบาย Views ใน Drupal 7

 View ใน Drupal 7 

อาจจะดูงงๆในครั้งแรกที่ทำ แต่ขออธิบายชนิดของ Views ก่อน มันจะมี Views ที่ถูกสร้างเป็น Page และ Block  ข้อแตกต่างคือ

- Views page ในแถบ  PAGE SETTINGS จะมีพาทให้กรอกเป็น URL alias เพื่อเรียกใช้หน้าดังกล่าว คล้ายๆกับการเรียกใช้หน้า Basic page
- Views Block  ในแถบ   PAGE SETTINGS จะให้ตั้งชื่อของบล็อก เมื่อถูกสร้างเป็นบล็อก ข้อพิเศษของมันคือสามารถจะย้ายวางตำแหน่งใดก็ได้บนเว็บไซต์
*แถบดังกล่าวแสดงในรูป เลข 2

ต่อไปจะเป็นภาพอธิบายด้าล่างน่ะค่ะ

1. รูปแบบ   จะมีหลากหายให้เลือกแต่ตัวอย่างโชว์เป็นตารางมีการจัดเรียงที่ชัดเจนกว่าแบบอื่นๆ ตารางข้าล่างเป็นตัวอย่างและคำอธิบายคร่าวๆ 

ตัวเลือก Display format
คำอธิบายชนิดเนื้อหา
Grid
คือการแสดงผลแบบสดมภ์ 
HTML list
คือการแสดงผลแบบรายการ ใช้ในการแสดงผลแบบบล็อค
Jump menu
เป็นลักษณะการลิงก์ไปยังเนื้อหาที่เลือกเหมือนการคลิกเลือกเมนู
Media Player
คือโมดูลการแสดงผลวิดีโอ
Slideshow
คือโมดูลการแสดงผลแบบให้รูปภาพเคลื่อนไหว
Table
การแสดงผลแบบตาราง
Unformatted list 
การแสดงผลแบบอ้างอิงลักษณะเนื้อหาเป็นหลัก

2.  เกี่ยวกับตัวเลือกรูปแบบเป็นส่วนในการตั้งชื่อและการใส่ URL
3. Field การเพิ่ม field เป็นการเลือกว่าจะดึงเนื้อหาอะไรมาแสดงบ้าง เช่นรูปภาพมาแสดง เอาหัวข้อ เอาเนื้อหามาแสดง เป็นต้น ดังแสดงดังรูปข้างล่าง 
* ควรระวัง ในช่อง For
-This block (override) เมื่อทำการบันทึกจะแสดงผลแค่ตัวที่ทำการแก้ไขปัจจุบัน
-All displays (except overridden) เมื่อทำการบันทึกจะมีผลกับการตั้งค่าทุกตัว ใน Display เดียวกันหากมีการสร้าง Views ที่หลากหลายและการตั้งค่าที่แตกต่างกัน (สร้างทั้งบล็อกและเพจ) จะทำให้ทุกตัวถูกตั้งค่าใช้งานเหมือนกันทันที 


4.การกรองเนื้อหาว่า จะเลือกจากเนื้อหาชนิดใดมา เช่น กรองเอาเฉพาะบทความที่เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น , เนื้อหาจากชนิดบทความนี้เท่านั้น ,หมวดหมู่ เป็นต้น 


นอกจากนี้เรายังสามารถลบหรือย้ายตำแหน่ง Field และ Filter ได้ >> คลิกลูกศรข้าง "เพิ่ม"  >> คลิก Rearrange ดังรูปข้างล่าง